ขับเคลื่อนโดย Blogger.

อาการของมะเร็งกระเพราะอาหาร และ วิธีการรักษา

วันพุธที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557



มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นเนื้อร้ายที่มีอัตราการพบสูงในปัจจุบันขณะเดียวกันอัตราการตายจากมะเร็งกระเพาะอาหารก็ค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้นสาเหตุสำคัญที่เป็นเช่นนี้ เนื่องมาจากอาการโรคมะเร็งกระเพาะอาหารในระยะเริ่มแรกแสดงออกอย่างไม่เด่นชัด ผู้ป่วยไม่สามารถค้นพบและรักษาได้ทันเวลา แล้วอาการมะเร็งกระเพาะอาหารในระยะแรกมีอาการเด่นชัดอะไรบ้าง?

ปัจจุบันเชื่อว่าการผ่าตัดสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อนในการผ่าตัดสูงจะช่วย เลาะเอาต่อมน้ำเหลืองออกในบริเวณที่เสี่ยงทั้งหมดออก ช่วยทำให้ผู้ป่วยลดการเป็นซ้ำและมีโอกาสหายขาดมากกว่าเดิม ซึ่งกรณีที่เป็นมะเร็งระยะแรกถึงปานกลาง การผ่าตัดส่องกล้องมีบทบาทอย่างมากที่ช่วยลดการบาดเจ็บ แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว ในขณะที่สามารถให้ผลการผ่าตัดได้ดีเทียบเท่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่ที่หน้าท้องแบบเดิมๆ

นอกจากนี้กรณีที่มีการกระจายของมะเร็งในผนังช่องท้อง เมื่อก่อนถือว่าเป็นระยะที่รักษาให้หายขาดด้วยการผ่าตัดไม่ได้ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับความร้อน มาใช้ในการผ่าตัด (HIPEC) ทำให้โอกาสหายขาดได้มากขึ้น โดยแพทย์เฉพาะทางต้องพิจารณาเป็นรายๆไป

มะเร็งกระเพราะอาหารคืออะไร ?

 มะเร็งของกระเพาะอาหารเป็นโรคมะเร็งที่เหมือนโรคมะเร็งอื่นๆ กล่าวคือ การที่เซลล์เยื่อเมือกมีการแบ่งจำนวนมากขึ้นอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดเป็นมะเร็งขึ้นมา และเจริญเติบโตลุกลามออกมาถึงบริเวณเยื่อบุผิวด้านนอก และลุกลามไปยังเนื้อเยื่อ/อวัยวะรอบๆกระเพาะอาหารได้ เช่น ตับอ่อน หลอดอาหาร และลำไส้ นอกจากนั้นเซลล์มะเร็งเหล่านี้จะมีการแพร่กระจายเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง หรือกระแสเลือด (โลหิต) ทำให้เกิดการแพร่กระจายของตัวโรคได้

อนึ่ง มะเร็งกระเพาะอาหารที่เกิดจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิด GIST (Gastrointes tinal Stromal Tumor) นั้นจะมีลักษณะการดำเนินของโรคและการรักษาที่แตกต่างจากมะเร็งกระเพาะอาหาร ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงในบทนี้ เพราะเป็นมะเร็งชนิดที่พบได้น้อย และโดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึง โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร จะหมายถึง โรคมะเร็งที่เกิดจากเยื่อเมือก (Carcinoma of stomach)

ปัจจัยเสี่ยงสำหรับการเป็นมะเร็งกระเพราะอาหาร

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารที่แน่ชัด แต่มีหลายปัจจัยที่พบว่าสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ ดังนี้
  • อายุ เมื่ออายุมากขึ้นจะมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากขึ้น 
  • เพศ เพศชายมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าเพศหญิง 2 เท่า
  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • เชื้อชาติ พบในคนเอเชียได้มากกว่าชนชาติผิวขาวกลุ่มประเทศยุโรปและอเมริกา
  • อาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทหมักดอง ตากเค็ม รมควัน อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้มากขึ้น การรับประทานผักและผลไม้สดอาจช่วยลดความเสี่ยงลงได้
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori ซึ่งเป็นเชื้อที่สามารถทำให้เกิดการอักเสบและแผลในกระเพาะอาหารได้ และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้มากขึ้น
  • เคยได้รับการผ่าตัดกระเพาะอาหารหรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคโลหิตจางบางชนิด โรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารสูงขึ้น
  • อาชีพ โดยเฉพาะอาชีพที่ต้องสัมผัสกับฝุ่นและสารเคมีบางชนิดก่อให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้น
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ค่อยรับประทานผักและผลไม้
  • ภาวะอ้วน ผู้ชายที่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมาก ขึ้น แต่ในเพศหญิงยังไม่มีหลักฐานความสัมพันธ์ระหว่างความอ้วนกับการเกิดโรค มะเร็งกระเพาะอาหาร

อาการของมะเร็งกระเพราะอาหาร

ในระยะเริ่มแรกของ มะเร็งกระเพาะอาหาร จะยังไม่มีอาการผิดปกติแสดงออกมา ต่อมาถ้าก้อนมะเร็งโตขึ้น ผู้ป่วยจะปวดท้อง รู้สึกหิวง่าย อาหารไม่ย่อย ท้องอืด แน่นตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือเหนือสะดือ แบบเดียวกับโรคกระเพาะ ทำให้ผู้ป่วยคิดว่าเป็นโรคกระเพาะธรรมดา กินยารักษาโรคกระเพาะอาการก็ทุเลาได้ แต่ต่อมายารักษาโรคกระเพาะทานไม่ได้ผล จะมีอาการรุนแรงอื่นๆ ตามมา เช่น
  1. คลื่นไส้ อาเจียน
  2. อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ (เป็นสีเลือดเก่าที่ตกค้าง)
  3. คลำพบก้อนแข็งในท้อง ตรงบริเวณเหนือสะดือ แต่กดแล้วไม่เจ็บ
  4. เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  5. กลืนอาหารลำบาก  
  6. คลำพบก้อนต่อมน้ำเหลืองที่แอ่งไหปลาร้าข้างซ้าย 

การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

  1. ซักประวัติทางการแพทย์ต่างๆ เช่น ลักษณะอาการปวด และสีของอุจจาระ และการตรวจร่างกาย
  2. เอกซเรย์ทางเดินอาหารส่วนบน หรือการเอกซเรย์กลืนแป้ง เป็นการตรวจที่ให้ผู้ป่วยกลืนน้ำที่มีส่วนผสมของแป้งแบเรียม (Barium) ซึ่งเป็นผงสีขาวคล้ายแป้ง ซึ่งน้ำแป้งแบเรียมนั้นจะไปเคลือบผิวของหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร จึงเห็นรอยโรคได้จากการตรวจทางเอกซเรย์
  3. อัลตราซาวน์ภายในหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร (Endoscopic ultra sound) เพื่อดูรอยโรคว่ามีการลุกลามไปที่ชั้นต่างๆของกระเพาะอาหารชั้นใดบ้างหรือไม่
  4. เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้อง เพื่อดูรอยโรค ลักษณะของโรค และการแพร่ กระจายของโรคในช่องท้อง
  5. ตรวจส่องกล้องช่องท้องส่วนบน เพื่อดูรอยโรคบริเวณหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น นอกจากนั้นยังสามารถตัดชิ้นเนื้อเพื่อการตรวจทางพยาธิ เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง
  6. การตรวจเลือดซีบีซี (CBC) เพื่อประเมินสภาพร่างกายทั่วๆไปของผู้ป่วยก่อนการรักษา
  7. การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ
    • เพื่อดูว่าเป็นเบาหวานหรือไม่
    • เพื่อดูการทำงานของไต
    • เพื่อดูการทำงานของตับ
    • เพื่อดูระดับเกลือแร่
  8. การตรวจเลือดเพื่อหาสารมะเร็ง (Tumor marker) ชนิดซีอีเอ (CEA) ซึ่งค่านี้อาจจะปกติหรือผิดปกติก็ได้ในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร แต่ถ้าค่าผิด ปกติตั้งแต่แรกก่อนเริ่มการรักษาจะเป็นประโยชน์ในการตรวจติดตามโรคได้
  9. เอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติในช่องอก ปอด และการแพร่กระจายของโรคสู่ปอด
  10. การตรวจอุจจาระว่ามีเลือดออกร่วมด้วยหรือไม่ โดยการดูผ่านทางกล้องจุลทรรศน์
  11. การตรวจปัสสาวะ เพื่อประเมินสภาพร่างกายทั่วๆไปของผู้ป่วยก่อนการรักษา 

วิธีการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

การผ่าตัด เป็นวิธีหลักในการรักษา มะเร็งกระเพาะอาหาร อาจเป็นการผ่าตัดกระเพาะอาหารออกบางส่วน หรือทั้งหมด

เคมีบำบัด หรือ ทำคีโม โดยการให้ยาทางหลอดเลือด เพื่อไปทำลายเซลล์มะเร็ง จึงอาจมีผลข้างเคียงคือ ทำให้เม็ดเลือดขาวลดลง จึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น ทำให้เม็ดเลือดแดงลดลง จนมีอาการอ่อนเพลีย เลือดออกง่ายขึ้น อีกทั้งยังเกิดผมร่วงมากขึ้น และมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนอีกด้วย  

รังสีบำบัด หรือการฉายแสง โดยการให้รังสีที่มีพลังงานสูงไปทำลายเซลล์มะเร็ง ในผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร จะให้รังสีบริเวณช่องท้องส่วนบน อาจมีผลข้างเคียงทำให้คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ถ่ายเหลว และมีอาการแดงบริเวณผิวหนังที่ได้รับรังสีได้ แต่อาการเหล่านี้สามารถรักษาได้

ทั้งนี้ในผู้ป่วย มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 1-2 แพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดกระเพาะอาหาร และให้เคมีบำบัดต่อเนื่องระยะหนึ่ง เพื่อควบคุมไม่ให้มะเร็งกระจายตัว การรักษาในขั้นนี้เป็นไปเพื่อให้โรคทุเลาลง หายขาด และมีอายุยืนยาว

แต่สำหรับรายที่เป็น มะเร็งกระเพาะอาหาร มากๆ จะต้องให้เคมีบำบัดเป็นหลัก ร่วมกับการฉายแสง การผ่าตัดอาจทำได้เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค มะเร็งกระเพาะอาหาร เช่น มีก้อนมะเร็งไปอุดกั้นทางเดินอาหาร การรักษาขั้นนี้ เป็นไปเพื่อบรรเทาภาวะแทรกซ้อน ไม่ได้มุ่งหวังในโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร หายไป

อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ป่วยเป็นโรค มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะแรกๆ ก็สามารถรักษาให้หายได้ แต่หากเป็น มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะสุดท้าย ก็จะทำได้เพียงแค่ประคับประคอง เพื่อไม่ให้ทุกข์ทรมาน และมักจะเสียชีวิต โดยทั่วไปผู้ป่วย มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 4 จะมีเสียชีวิตอยู่ได้ประมาณ 6-12 เดือน แต่หากดูแลรักษาร่างกายให้ดี อาจมีชีวิตอยู่ได้นานกว่านี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม