ขับเคลื่อนโดย Blogger.

วิธีรักษาอาการของโรคกระเพาะ

วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิธีรักษาอาการของโรคกระเพาะ


โรคกระเพาะอาหาร คือ ภาวะที่มีแผลเยื่อบุกระเพาะ หรือลำไส้ถูกทำลายถึงแม้ว่าจะเรียกว่าโรคกระเพาะ แต่สามารถเป็นได้ทั้งที่กระเพาะ หรือลำไส้ ถ้าเป็นเฉพาะเยื่อบุกระเพาะเรียก gastritis แต่ถ้าเป็นแผลถึงชั้นลึก muscularis mucosa เรียก ulcer ถ้าแผลอยู่ที่กระเพาะเรียก gastric ulcer ถ้าแผลอยู่ที่ลำไส้เล็กเรียก duodenal ulcer โรคกระเพาะพบได้ทุกวัย

อาการของโรคแผลในกระเพาะอาหาร

  •  ปวดหรือจุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด มักเป็นเวลาท้องว่าง หรือเวลาหิว อาการ
  •  ปวดแน่นท้อง มักจะบรรเทาได้ด้วยอาหาร หรือยาลดกรด ผู้ป่วยบางคนอาการปวดจะเป็นมากขึ้นหลังอาหาร โดยเฉพาะอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เป็นต้น
  •  อาการปวดมักเป็น ๆ หาย ๆ มานานเป็นปี โดยมีช่วงเว้นที่ปลอดอาการค่อนข้างนาน เช่น ปวดอยู่ 1-2 สัปดาห์ และหายไปหลาย ๆ เดือน จึงกลับมาปวดอีก 
  • บางรายจะไม่มีอาการปวดท้อง แต่จะมีอาการแน่นท้อง หรือรู้สึกไม่สบายในท้อง มักจะเป็นบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือกลางท้องรอบสะดือ มักมีอาการท้องอืดร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังกินอาหารท้องจะอืดขึ้นชัดเจน มีลมมากในท้อง ท้องร้องโกรกกราก ต้องเรอหรือผายลมจะดีขึ้น อาจมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังอาหารแต่ละมื้อ หรือช่วงเช้ามืดผู้ป่วยอาจมีอาการอิ่มง่ายกว่าปกติ ทำให้กินได้น้อยลง และน้ำหนักลดลงบ้างเล็กน้อย

วิธีรักษาอาการของโรคกระเพาะ

วิธีรักษาอาการของโรคกระเพาะ อาหารแบ่งเป็น 2 วิธี ซึ่งจะต้องปฏิบัติควบคู่กันอย่างเคร่งครัด คือ
     1. การปฏิบัติตัวเพื่อกำจัดสาเหตุการเกิดโรค
         1.1กินอาหารให้เป็นเวลา ไม่ปล่อยให้ท้องว่าง
         1.2 งดอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
         1.3 งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
         1.4 งดดื่มชา และ กาแฟ
         1.5 งดสูบบุหรี่
         1.6 พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด ไม่หงุดหงิดโมโหง่าย
         1.7 งดการใช้ยาที่มีผลต่อกระเพาะอาหาร

     2. การรักษาด้วยยา
         ยาที่ใช้ในการรักษามีหลายกลุ่ม แต่สิ่งสำคัญในการใช้ยาคือ ต้องกินยาให้สม่ำเสมอ ครบตามจำนวนและระยะเวลาที่กำหนด โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 4 - 6 สัปดาห์ แผลจึงจะหาย หลังกินยาไประยะหนึ่งถึงแม้อาการจะดีขึ้น ก็ห้ามหยุดยา ต้องกินต่อจนครบตามกำหนด เพื่อให้แน่ใจว่าแผลหาย และไม่กลับมาเป็นซ้ำ นอกจากนี้หลังกินยาจนครบกำหนดก็ควรปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงสาเหตุของโรคอย่างเคร่งครัด ไม่เช่นนั้นอาจกลับมาเป็นซ้ำได้

การใช้สมุนไพรบำบัดโรคกระเพาะอาหาร

  • กล้วยน้ำว้า นำกล้วยน้ำว้าดิบฝานเป็นแว่นๆแล้วตากแดดประมาณ 2 วัน หรืออบให้แห้งในอุณหภูมิ 50 °C แล้วบดให้ละเอียดเป็นผง ใส่ขวดเก็บไว้ ใช้ผง 1-2 ช้อนโต๊ะชงน้ำอุ่น หรือผสมกับน้ำผึ้งดื่ม 1 ช้อนโต๊ะ ผสมให้เข้ากัน กินก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง และก่อนนอน
  • ขมิ้นชัน ใช้เหง้าแก่สด ล้างให้สะอาด ไม่ต้องปลอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดจัด 1-2 วัน บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นให้เหมือนลูกกลอน กินครั้งละ 3-4 เม็ด หรือเก็บไว้ในขวดแล้วใช้ผง 1 ช้อนชา ผสมน้ำผึ่ง 1 ช้อนโต๊ะดื่ม วันละ 4 ครั้ง กินหลังอาหาร และก่อนนอน
  • ว่านหางจระเข้ ใช้ใบสดที่เพิ่งตัดออกจากต้น นำมาล้างให้สะอาด ปอกเปลือกส่วนที่มีสีเขียวออกให้หมดเหลือแต่วุ้นใส หากมียางสีเหลืองติดที่วุ้นให้ล้างออกก่อน หั่นวุ้นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 3 นิ้ว ล้างให้สะอาดอีกครั้ง กินวันละ 2 เวลา ก่อนอาหารเช้า เย็น
  • กระเจี๊ยบเขียว ใช้ผักลวกกินน้ำพริกทุกวัน เมือกลื่นๆ ในผลกระเจี๊ยบเขียว ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารได้

    นอกจากนี้ คุณควรพึงระลึกไว้เสมอว่า โรคแผลในกระเพาะอาหารมักเป็นโรคเรื้อรัง เมื่อรักษาแผลหายแล้วยังมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก หลังได้รับยา อาการปวดจะหายไปก่อนใน 3-7 วัน แต่แผลจะยังไม่หาย ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยารักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน 4-8 สัปดาห์ แผลจึงหาย เมื่อหายแล้วจะกลับมาเป็นใหม่ได้อีก ถ้าไม่ปฏิบัติตัวให้ถูกต้องหรือถ้ายังไม่สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหารให้หมดไปได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม